สงกรานต์ 2559 ประวัติและสถานที่เที่ยวงานสงกรานต์

สงกรานต์ 2559 ประวัติและสถานที่เที่ยวงานสงกรานต์

View icon 6.2K
วันที่ 1 เม.ย. 2559 | 16.12 น.
News
แชร์
วันสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน พ.ศ.2559 ในปีนี้ วันมหาสงกรานต์ เป็นวันพุทธที่ 13 เมษายน เวลา 20.36 น. จันทรคติ ตรงกับ วันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือนห้า ปีวอก โดยมีนางสงกรานต์ประจำปี คือ มณฑาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเหล็กแหลม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จไสยาสน์ลืมเนตรมาเหนือหลังคัสพร หรือ ลา เป็นพาหนะ

โดย ทางโหราศาสตร์ พยากรณ์ว่า วันสงกรานต์ 2559 ทำนายว่านางสงกรานต์ปีนี้ ไม่ดุ เพราะเป็นสงกรานต์ศุภเคราะห์ รูปร่างสวยงาม น่าหลงใหล ส่วนที่ถือเหล็กแหลมจะมีอุบัติเสียดแทงตลอดปี ส่วนไม้เท้าเป็นค้ำยัน ไม่ให้ล้ม ส่วนพาหนะที่เป็นลาการคมนาคมมีปัญหาติดขัด

ประวัติความเป็นมาวันสงกรานต์

วันสงกรานต์ เป็นประเพณีของ ไทย ลาว กัมพูชา พม่า คำว่าสงกรานต์ เป็นคำสันสกฤต แปลว่า การเคลื่อนย้าย ซึ่งหมายถึงการเคลื่อนเข้าสู่ปีใหม่ของไทยและในบางประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมวันที่กำหนดจัดเทศกาลสงกรานต์จะถูกกำหนดด้วยการคำนวนทางดาราศาสตร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2432 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนวันเป็นวันที่ 1 เมษายน แต่เมื่อเข้ายุคสมัยของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ปี พ.ศ. 2483 ได้เปลี่ยนวันปีใหม่ให้เป็นสากล คือวันที่ 1 มกราคม แต่คนไทยส่วนมากในยุคนั้นก็คุ้นเคยกับวันปีใหม่ไทยในเดือนเมษายน จึงกำหนดให้เป็นวันที่ 13 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยหรือวันสงกรานต์

ประเพณีพิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่ทำร่วมกับสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชน บ้านใกล้เคียง จะใช้น้ำเป็นตัวแทนในการรดแก่กันเพื่อความชุ่มชื่นในช่วงฤดูร้อน พร้อมทั้งมีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกถึงพระคุณของบรรพบุรุษ รวมถึงการสรงน้ำพระเพื่อความเป็นสิริมงคล ปัจจุบันประเพณีเปลี่ยนไปถูกเพิ่มกิจกรรมในเชิงเพื่อความสนุกและการท่องเที่ยวมากขึ้น ด้วยการใช้น้ำราดหรือฉีดใส่กัน

สถานที่เที่ยวงานสงกรานต์ 2559

1.งานสงกรานต์ ถนนข้าวสาร ณ ถนนข้าวสาร กรุงเทพ
2.งานสงกรานต์ ถนนสีลม กรุงเทพ
3.งานสงกรานต์ ชุมชนมอญสังขละบุรีกาญจนบุรี
4.งานสงกรานต์สุพรรณบุรี ประจำปี 2559ณ ถนนเณรแก้ว  เขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
5.ประเพณีสงกรานต์แห่ปราสาทผึ้งประจำปี 2559 ณ ตำบลหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี
6.งานประเพณีสงกรานต์ศรีมหาราชาและประเพณีกองข้าว ณ สวนสุขภาพ เทศบาลเมืองศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
7.ประเพณีแห่พญายมสงกรานต์บางพระณ ชายหาดบางพระ จังหวัดชลบุรี
8.งานสุดยอดสงกรานต์อีสาน เทศกาลดอกคูน เสียงแคน และถนนข้าวเหนียว ณ บึงแก่นนคร และถนนศรีจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
9.งานถนนอาหารสงกรานต์อุดร ณ ถนนเทศา สวนสาธารณหนองประจักษ์ ศิลปาคม อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
10.ประเพณีสงกรานต์โคราช ณ บริเวณหน้าเทศบาลนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
11.ประเพณีป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง ณ บริเวณเทศบาลนครเชียงใหม่ และทั่วเมืองเชียงใหม่
12.ประเพณีสงกรานต์ออนเดอะบีชณ หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต


เรียบเรียงข้อมูลโดย Ch7 Social News 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง