“กลุ่มแปลงใหญ่หอยนางรมอําเภอกาญจนดิษฐ์” สุราษฎร์ธานี ต้นแบบแปลงใหญ่หอยนางรม สินค้าเกษตรมูลค่าสูง สร้างรายได้68 ล้านบาท/ปี
วันนี้ (21 มี.ค.68) นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุราษฎร์ธานี (สำนักงานเศรษฐกิจ
การเกษตร เปิดเผยว่า หอยนางรมสุราษฎร์ธานีเป็นสินค้าที่สร้างมูลค่าให้กับจังหวัด ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค
ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ตั้งแต่ 23 มิถุนายน 2549 โดยในปี 2568 กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ กำหนดให้เป็นสินค้าเกษตรมูลค่าสูง 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ด้านการประมง ประเภทกลุ่ม
สินค้าบริการเเละบริการเชิงสร้างสรรค์
กลุ่มแปลงใหญ่หอยนางรมอําเภอกาญจนดิษฐ์ ตําบลกะแดะ อําเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพการผลิตในพื้นที่ มีประสบการณ์เลี้ยงมายาวนาน มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เริ่มดำเนินการในรูปแบบกลุ่มแปลงใหญ่ในปี 2567 ปัจจุบันมีพื้นที่เลี้ยงรวม 877 ไร่ มีสมาชิก 35 ราย ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP มกษ.7436-2563 จากกรมประมง เกษตรกรเลี้ยงหอยนางรมเป็นอาชีพหลัก ใช้เวลาในการเลี้ยงประมาณ 2 - 3 ปีสามารถจับขายได้ ด้านสถานการณ์การผลิต หอยนางรมจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
เกษตรกรจะคอยเฝ้าดูลูกหอยนางรมเข้ามาเกาะหลักซีเมนต์ที่ปักเตรียมไว้ในทะเล และคอยดูแลไม่ให้มีสิ่งมารบกวนการ
เจริญเติบโตของหอยนางรม เช่น เพรียง เพรียงหัวหอม หอยแมลงภู่ หอยเม่น ต่อจากนั้น เมื่อหอยได้ขนาดตามต้องการ
(น้ำหนัก 150 - 300 กรัม/ตัว) จะยกหลักซีเมนต์ซึ่งสวมหลักที่ปักไว้ในทะเล (หลักเป็นท่อ PVC) มาเคาะเอาหอยที่ได้ขนาดมา
คัดไซส์และจำหน่ายต่อไป โดยในปี 2567 ได้ปริมาณผลผลิตหอยนางรม คิดเป็นน้ำหนักรวม 592,376 กิโลกรัม
ราคาหอยนางรมสดหน้าฟาร์ม 10 – 45 บาท/ตัว
ทั้งนี้กลุ่มมีรายได้รวมจากการขายหอยนางรมสด 68,123,240 บาท/ปี คิดเป็นกำไรรวม 39,689,192 บาท/ปีด้านสถานการณ์ตลาด ผลผลิตร้อยละ 40 ส่งจำหน่ายร้านค้า/ร้านอาหารทั่วประเทศ รองลงมาร้อยละ 30 จำหน่ายให้กับพ่อค้ารับซื้อ ผลผลิตร้อยละ 23 จำหน่ายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของสมาชิกในกลุ่มแปลงใหญ่ และร้อยละ 7 จำหน่ายให้กลุ่มลูกค้า/ร้านอาหาร Premium
“สำหรับการขับเคลื่อนกลุ่มแปลงใหญ่หอยนางรมอําเภอกาญจนดิษฐ์ในระยะต่อไป กลุ่มมีการวางแนวทางพัฒนา
นวัตกรรม เพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยง เช่น การเลี้ยงหอยโดยใส่ในถุงตาข่ายแขวนไว้ที่หลักแทนการเฝ้าดูให้หอยมาเกาะที่หลัก
การผลิตปุ๋ยอัดเม็ดจากเปลือกหอยนางรม การจําหนายหอยรมในงานสําคัญของจังหวัดร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัด
สุราษฎร์ธานี” ผู้อำนวยการ สศท.8 กล่าว
สำหรับ หอยนางรมสุราษฎร์ธานี มีการเลี้ยงตลอดแนวชายฝั่งอ่าวบ้านดอน ในเขตอำเภอไชยา ท่าฉาง พุนพิน เมือง
และกาญจนดิษฐ์ รวมถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเลของอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี อ่าวบ้านดอนมีรูปร่างของอ่าวเป็นรูปตัวยู (U) การขึ้นลงของน้ำทะเลในอ่าวบ้านดอนเป็นแบบน้ำเดียวหรือขึ้นลงวันละครั้ง ความลึกเฉลี่ยบริเวณกลางอ่าว อยู่ในช่วง 4 – 5 เมตร มีแม่น้ำหลายสายไหลลงอ่าว กระแสน้ำได้นำพาอาหารมากับสายน้ำด้วย ประกอบกับผิวหน้าดินในทะเลบริเวณใกล้แนวชายฝั่งอ่าวบ้านดอนเป็นดินเลนมีแร่ธาตุมาก ความลึกค่อนข้างน้อยและปริมาณน้ำจืดที่ไหลลงอ่าวค่อนข้างมากในแต่ละปีจึงทำให้เกิดสภาพน้ำกร่อยขึ้นเป็นวงกว้าง และเป็นเวลานาน ความอุดมสมบูรณ์และระดับความเค็มของน้ำทะเลในอ่าว จึงเหมาะแก่การเจริญเติบโตของหอยนางรม ทำให้หอยที่ได้ตัวใหญ่เนื้อหวาน ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากทั้งจากคนไทยและต่างประเทศ
ผู้ที่สนใจข้อมูลการเลี้ยงหอยนางรมของจังหวัดสุราษฎร์ธานี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประมงจังหวัด สุราษฎร์ธานี โทร 0 7724 0612 อีเมล fposuratthani@gmail.com หรือสนใจข้อมูลการผลิตของกลุ่มแปลงใหญ่หอยนางรม อําเภอกาญจนดิษฐ์ ตำบลกะแดะ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ นางสาวยมนา อนุรักษ์ ประธานกลุ่ม โทร 08 9724 2008