“หมอสุรัตน์” เผยงานวิจัยพบ โรคภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น พบในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมากกว่าคนทั่วไป
วันนี้ (13มี.ค.68) ผศ.นพ.สุรัตน์ ตันประเวช แพทย์เชี่ยวชาญด้านสมองและระบบประสาท โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ชื่อ “สาระสมองกับ อจ.หมอสุรัตน์” แนะนำให้สังเกตคนข้างกายขณะนอนหลับ หากมีอาการนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ จะไม่ใช่เสี่ยงเพียงแค่โรคภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น หรือ OSA แต่อาจกลายเป็นพาร์กินสันได้ รายละเอียดของโพสต์ดังกล่าว มีดังนี้
คนนอนกรนนั้นเจอบ่อย บางทีตื่นมาก็มึน ๆ และบางคนนอนกรน ก็มีโรคหยุดหายใจขณะหลับ สะดุดเป็นช่วง ๆ จนเป็นโรคภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น หรือ OSA ตอนนี้ ไม่ใช่แค่กรน ไม่ใช่แค่หยุดหายใจแล้วมันกลายเป็นพาร์กินสันได้
การวิจัย พบว่า OSA พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมากกว่าประชากรทั่วไป โดยการประเมินความชุกของ OSA ในผู้ป่วย PD มีตั้งแต่ 20% ถึง 70% ซึ่งสูงกว่าความชุกในประชากรทั่วไปที่อยู่ในช่วง 2% ถึง 14% ปัจจัย เช่น อายุ เพศชาย
กลไกในการเกิดคือการขาดออกซิเจนเป็นระยะและการนอนหลับที่ไม่ต่อเนื่องจากการกรนหยุดหายใจใน OSA อาจนำไปสู่ภาวะ stress จากออกซิเดชันและการอักเสบ
ซึ่งอาจส่งเสริมการสะสมของโปรตีนอัลฟา-ซินนิวคลีอิน (alpha-synuclein)—โปรตีนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพยาธิวิทยาของ PD—และทำให้เซลล์ประสาทสร้างโดปามีนในสมองที่เป็นสาเหตุของพาร์กินสันสุญเสียไป
คราวนี้ ทำไงดีหากกรน อย่างแรก คนข้าง ๆ ที่นอนด้วยก็ต้องสังเกตว่า เมื่อนอนกรนแล้ว มีอาการหยุดหายใจหรือไม่ หากมีละก็ ต้องไปตรวจการนอน หรือ sleep test
การใช้ CPAP หรือ เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก จะอัดอาการ ใช้รักษาโรคนี้ได้ และ งานวิจัยล่าสุดพบว่า การรักษาด้วย CPAP จะทำให้ อัตราการเกิดพาร์กินสันลดลง นั้นเป็นสิ่งที่บอกว่า โรคพาร์กินสัน เกิดจากการนอนกรนจริง ๆ ด้วย