dtac Safe Internet มีส่วนร่วมแก้ปัญหาเด็กถูกล่วงละเมิดทางออนไลน์

View icon 192
วันที่ 12 ม.ค. 2566
แชร์

dtac Safe Internet จับมือ กทม. , ตำรวจไซเบอร์ ให้ความรู้ชี้แนวทางนักเรียน ป้องกันไม่ให้เด็กตกเป็นเหยื่อถูกล่วงละเมิดทางเพศทางออนไลน์ หลังพบไทยขึ้นแท่นอันดับ 2 ของโลก  


63bfc8f80ac0a0.34597695.jpg

เมื่อเร็วๆ นี้ ดีแทค ร่วมกับกรุงเทพมหานคร และกลุ่มงานต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต ตำรวจไซเบอร์ (TICAC-CCIB) ออนทัวร์ให้ความรู้เด็กนักเรียนสังกัด กทม. ที่โรงเรียนคลองทวีวัฒนา หลังมีข้อมูลบ่งชี้ว่าเด็กไทยเสี่ยงตกเป็นเหยื่อจากการแสวงหาประโยชน์ทางเพศออนไลน์ (Online Child Exploitation) สูงถึง 20% สัดส่วนผู้กระทำผิดสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก ความเหลื่อมล้ำซัดเด็กแพร่ภาพของตัวเองแลกเงิน ด้านดีแทคตั้งเป้าพัฒนาความรู้ครอบคลุมนักเรียนประถมปลายทั่วประเทศภายใต้โครงการ dtac Safe Internet

63bfc8fc61c7b7.85778574.jpg
 
พ.ต.อ.รุ่งเลิศ คันธจันทร์ ผู้กำกับกลุ่มงานต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต ในฐานะผู้ปฏิบัติงานในชุดปฏิบัติการปราบปรามการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต (TICAC) มีข้อมูลบ่งชี้ว่าเด็กไทยตกอยู่ในความเสี่ยงเนื่องจากมีสถิติที่ได้รับรายงานจาก NCMEC พบว่าตั้งแต่ปี 2562 ประเทศไทยพบมีสื่อลามกอนาจารเด็กออกมาสู่สังคมเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
โดยในปี 2562 พบรายงาน 117,213 ฉบับ
ปี 2563 พบรายงาน 396,049 ฉบับ
ปี 2564 พบรายงาน 586,582 ฉบับ
ปี 2565 พบรายงาน 523,169 ฉบับ
ซึ่งในช่วงปี 2562 – 2565 เป็นช่วงที่เด็กเรียนออนไลน์ จึงเป็นโอกาสของคนร้ายที่อาศัยช่วงเวลาดังกล่าวมาก่อเหตุล่วงละเมิดทางเพศทางออนไลน์ ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็สามารถจับกุมตัวผู้กระทำความผิดได้เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน

63bfc8f666d406.48907874.jpg
 
ทั้งนี้ยังพบว่า เว็บมืดซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการหาแสวงผลประโยชน์ทางเพศจากเด็กในไทยยังมีการเติบโตสูงถึง 5 เท่า สถิติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติพบว่า คนร้าย 1 คน สามารถสร้างความเสียหายต่อเหยื่อที่ 1,000 คน เด็กถึง 20% มีโอกาสตกเป็นเหยื่อ ซึ่งวิธีที่คนร้ายมักจะใช้หลอกล่อเด็ก

1.หลอกจะให้เงิน –หลอกให้เด็กทำในสิ่งที่ต้องการโดยหลอกว่าจะให้เงินเป็นค่าตอบแทน
2.เชิญเป็นดารา-หลอกจะพาเข้าวงการบันเทิงให้เด็กทำในสิ่งที่ต้องการ
3.ชวนให้แก้ผ้า-ล่อลวงให้เด็กถ่ายภาพอนาจาร
4.ท้าให้เปิดกล้อง-ท้าทาย ยั่วยุ เด็กๆ ให้เด็กทำในสิ่งที่ต้องการ

ซึ่งวิธี “หลอกจะให้เงิน เชิญเป็นดารา ชวนให้แก้ผ้า ท้าให้เปิดกล้อง” เมื่อตกเป็นเหยื่อแล้วพบว่า 56% เด็กเลือกที่จะไม่บอกใคร ซ้ำร้ายยังพบว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมและรายได้ส่งผลให้เด็กตกเป็นเหยื่อเพื่อแลกเป็นเงินหรือสิ่งของต่างๆ

ทั้งนี้การก่อเหตุล่วงละเมิดเด็กถือเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นอาชญากรรมร้ายแรง ทำลายซึ่งสิทธิ เสรีภาพ ศักดิ์ศรีและความมั่นคงของมนุษย์ แต่ตามกฎหมายไทย จะเอาผิดผู้ก่อเหตุได้ก็ต่อเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กรู้เท่าทันกลอุบายของคนร้ายก่อนที่จะเกิดเหตุบานปลายขึ้น

63bfc8fb5c43d6.91666419.jpg
 
ด้านนายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กทม. ร่วมมือกับ dtac Safe Internet ในการอบรมความรู้ด้านความปลอดภัยในการใช้งานออนไลน์ให้ความรู้แก่เด็กนักเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครอายุระหว่าง 11-13 ปี (ป.5-6) จำนวน 50 โรงเรียน กว่า 10,000 คน ผ่านคาบเรียน "BMA x dtac Safe Internet School Tour" เพื่อให้มีองค์ความรู้และภูมิคุ้มกันต่อภัยการแสวงหาประโยชน์ทางเพศทางออนไลน์ เข้าใจถึงกระบวนการและสามารถรับมือได้อย่างทันท่วงที

ซึ่งจากการลงพื้นที่อบรมในโรงเรียนสังกัด กทม. ก่อนหน้านี้พบว่ามีนักเรียนราว 3% เคยถูกร้องขอ ข่มขู่หรือกดดันให้ส่งรูปภาพตนเองทางออนไลน์  และยังพบว่าเด็กอีก 13% เคยส่งรูปภาพ วิดีโอ หรือข้อมูลส่วนตัวให้คนแปลกหน้า และ 3% เคยได้รับภาพ หรือวิดีโอที่มีเนื้อหาส่อไปทางเพศ ซึ่งสะท้อนถึงความรุนแรงของปัญหาที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน

63bfc8f4bf83a0.50949759.jpg

นางอรอุมา ฤกษ์พันาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและความยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า ดีแทค ในฐานะผู้ให้บริการโทรคมนาคม ตระหนักถึงภัยออนไลน์ที่เกี่ยวกับการแสวงหาประโยชน์และการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางออนไลน์ ดังนั้นภายใต้โครงการ dtac Safe  Internet จึงมุ่งส่งเสริมศักยภาพในการเข้าถึงทรัพยากรการศึกษา การให้ความรู้แก่เด็ก

และครูเกี่ยวกับการความปลอดภัยและการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างมีความรับผิดชอบ โดยได้ร่วมมือกับสำนักการศึกษากรุงเทพมหานครตั้งแต่ปี พ.ศ.2565 จัดทำหลักสูตรและกิจกรรมส่งเสริมการตระหนักรู้ในเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ที่มีมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทยให้ความร่วมมือและริเริ่มในการหยุดยั้งภัยดังกล่าว รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้ต่อสังคมและการมีส่วนร่วมของ

ชาวเน็ตผ่านแคมเปญการสื่อสาร และจะขยายผลการอบรมให้ครอบคลุมนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นประถมปีที่ 5-6 ทั่วประเทศ เนื่องจากเด็กวัยดังกล่าวเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านเป็นวัยรุ่น และมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ซึ่งดีแทค จะจัดอบรมให้ความรู้ลักษณะต่อไป

63bfc8e915a872.19633926.jpg
 
"การเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชนเป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการรับมือกับปัญหานี้เท่านั้นปัญหานี้ยังคงต้องการผนึกกำลังระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ที่ช่วยกันสร้างความหนักในสังคม และบังคับใช้กฎหมายได้อย่างเป็นระบบและตัดตอนได้อย่างทันท่วงที" นางอรอุมา กล่าวทิ้งท้าย

63bfc8fa567cd1.75273342.jpg