ปัญหายาเถื่อน ที่กำลังระบาดบริเวณชายแดนภาคเหนือ ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทางด้านสุขภาพและเศรษฐกิจชุมชน

View icon 73
วันที่ 9 มี.ค. 2565
แชร์

หน่วยงานประจำจังหวัดเชียงราย สภาองค์กรของผู้บริโภค ภายใต้ สมาคมประชาสังคมเพื่อการพัฒนา จึงได้พัฒนาระบบเฝ้าระวัง /รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับอาหาร ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ นำร่องประเด็น “ยาชายแดน” นำไปสู่การจัดการเตียรอยด์ในชุมชน ร่วมกับกลุ่มงานเภสัชและองค์กรผู้บริโภคในพื้นที่ ลงสุ่มตรวจร้านค้า

ธนชัย ฟูเฟื่อง หัวหน้าหน่วยงานประจำจังหวัดเชียงราย สภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่า "ก็จะมีขึ้นป้ายว่า อำเภอนี้ บ้านนี้ ไม่ต้อนรับรถเร่ในการขายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เป็นอันตราย สร้างเครือข่ายให้ชุมชนด้วยการเฝ้าระวัง"

ขณะที่ หน่วยงานประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี สภาองค์กรของผู้บริโภค ขับเคลื่อน "โครงการบริโภคสร้างสรรค์สุราษฎร์ธานี" สร้างความเข้าใจ ให้เครือข่ายในพื้นที่ เกี่ยวกับสิทธิ/ การแก้ไขปัญหา / การประสานและส่งต่อเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภค พร้อมสนับสนุน ดำเนินการตรวจสอบ เฝ้าระวังปัญหาสินค้าและบริการ และแจ้งเตือนภัยต่อผู้บริโภค

ชยาพร สะบู่ม่วง หัวหน้าหน่วยงานประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี สภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่า "ที่ผ่านมาเรามีการทำเรื่องของการแจ้งเตือนภัยหลากหลายรูปแบบ ทั้งสื่อออนไลน์ผ่านเพจหน่วยงานประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี และก็ช่องทางไลฟ์ที่เป็นเครือข่ายผู้บริโภคในจังหวัดสุราษฎร์ธานี"

การเฝ้าระวัง และเตือนภัยผู้บริโภค เป็นหนึ่งในภารกิจของสภาองค์กรของผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคไม่ตกเป็นเหยื่อถูกหลอกลวง