ทิศทางการกระจายอำนาจ หัวใจสำคัญของการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน

View icon 698
วันที่ 9 ก.ค. 2564
แชร์

หัวใจสำคัญของการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน คือการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้มีสิทธิ์ในการตัดสินใจเพื่อแสวงหาทางเลือกร่วมกับภาครัฐ นำไปสู่นโยบายที่เหมาะสม กรุงเทพมหานครจึงได้ปรับการบริหารการทำงานไปสู่ระดับเขตมากขึ้น เพื่อกระจายอำนาจการบริหารจัดการได้อย่างทั่วถึง ถือเป็นการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

ประชาชนที่สนใจเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนกรุงเทพฯ สามารถส่งเสียงของคุณ ได้ที่
CALL CENTER: สายด่วน กทม. 1555
APPLICATION: BKK CONNECT 
เว็บไซต์: www.bangkok.go.th 
FACEBOOK/TWITTER: กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์

หรือตอบแบบสอบถามได้ที่: https://forms.gle/LBCJFiqJdHAAjCyv9

 

https://cdni-cf.ch7.com/i/images/2021/07/09/60e7ae5ed8c056.81518746.jpg
 

ในอดีต การพัฒนากรุงเทพมหานครมีลักษณะการบริหารแบบรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ซึ่งอาจไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของประชาชนในด้านการบริการและการอำนวยประโยชน์ได้ ดังนั้นจึงเกิดแนวความคิดเรื่องการกระจายอำนาจการบริหารการปกครองให้ประชาชนในท้องถิ่น เพื่อดำเนินการให้บริการและอำนวยการด้านต่าง ๆ สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง ทั่วถึง และรวดเร็ว อีกทั้งส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตย

 
https://cdni-cf.ch7.com/i/images/2021/07/09/60e7ae6398bb49.82365620.jpg

สำนักงานเขตกว่า 50 แห่งในกรุงเทพมหานครเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานส่วนท้องที่ รับภารกิจจากส่วนกลางไปปฏิบัติอีกทอดหนึ่ง รับผิดชอบในการจัดบริการสาธารณะให้ประชาชนโดยตรง พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชนอยู่เสมอ การกระจายอำนาจการบริหารงานมายังสำนักงานเขตทำให้หน่วยงานสามารถทำงานใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่ เสมือนตัวกลางในการสื่อสารความต้องการของประชาชน

https://cdni-cf.ch7.com/i/images/2021/07/09/60e7ae696633a1.44474100.jpg

นอกจากนี้ กรุงเทพมหานคร ยังคงมุ่งหวังในการลดบทบาทของส่วนกลาง (Decentralize) ลงเหลือภารกิจหลักเท่าที่จำเป็น และให้ประชาชน ได้มีส่วนในการบริหารงานชุมชนท้องถิ่น ตามเจตนารมณ์ของประชาชนมากขึ้น อาทิ การจัดประชุม รับฟังความเห็น ข้อร้องเรียงข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากประชาชน สมาคม องค์กรและชุมชน ผ่านสำนักงานเขตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อมุ่งสู่การเป็น “มหานครแห่งเอเชีย” ในปี 2575

https://cdni-cf.ch7.com/i/images/2021/07/09/60e7ae6a08f8c3.60924888.jpg

ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนากรุงเทพมหานคร จากการรับฟังข้อมูลข่าวสาร รับฟังความคิดเห็นจากช่องทางของกรุงเทพมหานคร หลังจากนั้นจึงเกิดความเกี่ยวข้องระหว่างภาคประชาชนและหน่วยงานด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยความสมัครใจ อีกทั้งให้ประชาชนร่วมมือ โดยการแสดงความคิดเห็นต่อนโยบายของรัฐ และท้ายที่สุดตัดสินใจเข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการนโยบายด้วยตนเอง เช่น การจัดทำแผนพัฒนาชุมชน หรือเวทีแสดงความคิดเห็น เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดการกระจายอำนาจการบริหารงานสู่ท้องถิ่นและประชาชนอย่างแท้จริง